โปรดศึกษากาลามสูตรให้เข้าใจ เพราะมีความสำคัญยิ่ง
เกี่ยวกับชีวิตและวิญญาณของท่านในปลายปี 2555 ปี 2556

ทำไมไม่สอนกาลามสูตรที่ไพเราะ และสำคัญยิ่งนี้
กาลามสูตรเป็นแนวทางของคนทั่วไปเพื่อมีโอกาสเข้าสู่สรวงสวรรค์


ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อในข้อมูลนี้ แต่ถ้าเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ ท่านควรพิจารณาเพื่อกุศลกรรมของท่านเอง

พุทธศาสนิกชนคนไทย จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า พระพุทธเจ้าโคตมตรัสกาลามสูตรไว้ไพเราะมาก มีประโยชน์มาก โดยพระผู้มีพระภาคตรัสสอนเน้นกับฆราวาส ผูู้้ดำเนินชีวิตในทางโลก มีพุทธศาสนิกชนไม่น้อยพอจะทราบว่ากาลามสูตรคือ ไม่ให้เชื่อ 10 ประการ แต่บ้างก็สงสัยว่า จำเป็นต้องเชื่อก่อน บ้างก็สงสัยว่าไม่ให้เชื่อ แล้วจะทำอย่างไร ท่านสามารถหาข้อเท็จจริงได้จากที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นระเบียบ เป็นขั้นตอน ถามผู้สงสัยคือกาลามชน ในทุกช่วงของการตรัสสอน ดังแสดงต่อไปนี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร เกสปุตตสูตร

สรุปเรื่องกาลามสูตร สำหรับผู้มีเวลาน้อย (การพิมพ์ การใช้ภาษาย่อมมีผิดพลาด ถ้าท่านใดเห็นว่าผิดไป โปรดแนะนำมาเพื่อแก้ไข จักขอบคุณมาก)

กาลามสูตรเป็นหนทางไปสู่สรวงสวรรค์อย่างไร

- พวกข้าพเจ้า(กาลามชน) มีความสงสัยว่า
- บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้ ใคร่เล่า
- พูดจริง ใครเล่าพูดเท็จ ดังนี้

- กาลมชน ท่านควรสนเท่ห์ ควรสงสัย
- ความสงสัยของท่าน เกิดขึ้นแล้วในสิ่งที่ควรสงสัย

- ท่านอย่าได้ถือโดยการฟังตามกันมา
- อย่าได้ถือโดยเป็นของเก่าสืบเนื่องมา
- อย่าได้ถือโดยตื่นข่าวลือ
- อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา
ุ- อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเอาเดาเอา
- อย่าได้ถือโดยการคาดคะเน
- อย่าได้ถือโดยการตรึกตามอาการ
- อย่าได้ถือโดยต้องกับลัทธิความเชื่อของตน
- อย่าได้ถือโดยผู้พูดเชื่อถือได้
- อย่าได้ถือโดยสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา

- กาลามชน เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนเองว่า
- ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
- ธรรมเหล่านี้เป็นโทษ
- ธรรมเหล่านี้วิญญูชนติเตียน
- ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ได้เต็มที่
- ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์
- กาลามชน ดังนี้ท่านพึงละทิ้งเสีย

- ท่านจะสำคัญสิ่งนั้นเป็นไฉน
- โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในสันดานของบุคคล
- โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในสันดานของบุคคล
- โมหะ เมื่อเกิดขึ้นในสันคานของบุคคล

- ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง
- ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้บ้าง
- ยุ่งเกี่ยวภรยาของชายอื่นบ้าง
- พูดเท็จบ้าง

- ท่านอย่าได้ถือโดยการฟังตามกันมา
- อย่าได้ถือโดยเป็นของเก่าสืบเนื่องมา
- อย่าได้ถือโดยตื่นข่าวลือ
- อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา
ุ- อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเอาเดาเอา
- อย่าได้ถือโดยการคาดคะเน
- อย่าได้ถือโดยการตรึกตามอาการ
- อย่าได้ถือโดยต้องกับลัทธิความเชื่อของตน
- อย่าได้ถือโดยผู้พูดเชื่อถือได้
- อย่าได้ถือโดยสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา

- กาลามชนเมื่อไรท่านรู้ด้วยตนเองว่า
- ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
- ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นโทษ
- ธรรมเหล่านี้ ท่านผู้รู้สรรเสริญ
- ธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว
- ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
- เมื่อนั้นท่านพึงถึงพร้อม

- อันความโลภไม่ครอบงำแล้ว มีจิตที่ละจากความโลภแล้ว
- กาลามชน ก็บุรุษผู้ปราศจากโทสะอันนี้แล้ว
- อันความหลงไม่ครอบงำแล้ว อันจิตไม่มีความหลงยึดแล้ว
- มีสติมั่นคงรู้ตัวอยู่

- มีใจประกอบด้วยเมตตา
- มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศ
- มีใจประกอบด้วยมุทิตาตลอดทิศ
- มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปโดยตลอด
- วิบากคือผลของการทำดีและทำชั่วก็มีอยู่

- ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไป
- นั้นแล มีจิตหาเวรมิได้ อย่างนี้
- มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้
- มีจิตไม่เศร้าหมอง อย่างนี้
- มีจิตบริสุทธิ์ อย่างนี้

- ย่อมไม่ฆ่าสัตว์เลย   
- ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
- ไม่ถึงภรรยาของชายอื่น
- ไม่พูดเท็จ

- นี่เป็นความอุ่นใจ
- ท่านอริยชน จะเป็นผู้ได้รับความอุ่นใจ 4 ประการ
- เราจะเข้าสู่สุขติโลกสวรรค์
- เราจึงถือว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งสองทาง ที่พระอริยสงฆ์จะได้รับ

ข้อสังเกต

ในกาลามสูตร พระพุทธเจ้าโคตมไม่กล่าวถึงเรื่องสุราแม้แต่คำเดียว มีแต่แสดงความสำคัญยิ่งของกรรมกิเลสเป็นอย่างไรหรือ กรรมกิเลส 4 คือ การฆ่า ๑ การถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ ๑ ประพฤตืผิดในกาม ๑ และพูดเท็จ ๑ ถือว่าเป็นเครื่องเศร้าหมอง เสื่อมเสียความประพฤติ

เรื่องกาลามสูตรอาจจะยาวมาก แต่เพื่อชีวิตและวิญญาณของท่านเอง ท่านควรหาเวลามาศึกษา  นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ท่านอาจจะไม่ถูกกวาดล้างไปกับการล้างโลกอธรรมลูกนี้

สำหรับท่านพุทธศาสนิกชน ในเรื่องพระสูตรหรือคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าโคตม พึงควรสังเกตว่า ถ้าพระสูตรใด เริ่มด้วย “เอกัง สะมะยัง ภะคะวา” จะถือว่า พระสูตรนี้มาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า โดยมีพระอานนท์เถระเป็นผู้เล่าต่อมาไว้ดังนี้ว่า ...  
และพระสูตรเหล่านี้ พระสงฆ์สามารถจดจำได้ และสามารถกล่าวปากเปล่าได้โดยไม่ต้องเปิดตำรา  มาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้าโคตมยังมีพระชนม์ชีพ ตราบจนถึงในทุกๆวันนี้ ความผิดพลาดย่อมไม่มี  นี่คือพระพุทะเจ้าผู้รู้เองโดยชอบ ผู้เป็นอรหันต์ ได้ล่วงรู้ทั้งอดีตกาลและอนาคตกาล จึงได้ตั้งกฎไม่ให้พระสงฆ์รูปใดจดบันทึก ต้องท่องจำ ขอให้ท่านพุทธศาสนิกชนพึงเข้าใจว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะท่องจำพระสูตรก่อนจะจำวัดทุกค่ำคืน

กาลามสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนชาวบ้านโดยตรง ท่านพุทธศาสนิกชน พึงควรสังเกตว่า เรารู้กาลามสูตรกันเพียงกี่เปอร์เซ็นหลังจากที่ท่านได้อ่านกาลามสูตรเต็มรูปแบบนี้แล้ว

กาลามะสุตตัง (การเขียนย่อมมีผิดพลาด ถ้าท่านใดเห็นโปรดแนะ จักขอบคุณยิ่ง และจะหาเวลาแก้ไข)

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา - (พระอานนท์เถระได้สดับฟังมาว่า) ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค
โกสะเลสุ จาริกัง จะระมาโน - พร้อมด้วยพระภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จจาริก
มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิ เยนะ เกสะปุตตัง นามะ - ไปในโกศลชนบท บรรลุถึงเกสปุตตะ
กาลามานัง นิคะโม ตะทะวะสะริ - แห่งหมู่ชนกาลามโคตร
อัสโสสุง โข เกสะปุตติยา กาลามา - กาลามชนชาวเกสปุตตนิคมได้ยินว่า
สะมะโณ ขะลุโภ โคตะโม สักกะยะปุตโต - พระสมณโคตมผู้เจริญ ผู้เป็นศากยบุตร
สักกะยะกุลา ปัพพะชิโต - ออกผนวชจาก ยสกุล
เกสะปุตตัง อะนุปปัตโต - เสด็จมาถึงเกตปุตตนิคมแล้ว จึงดำหริว่า
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง โคตะมัง - กิตติศัพท์อันงาม ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท - พระโคตม พระองค์นั้นแล
อัพภุคคะโต อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง - ย่อมระบือไปว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน - เป็นผู้รู้เองโดยชอบ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ
สุคะโต โลกะวิทู - เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - เป็นผู้ควรฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง - เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์
พุทโธ ภะคะวา โส อิมังโลกัง - พระองค์ทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งเองแล้ว
สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง - สอนโลกนี้ให้กับเทวดา มารและพรหม และและหมู่สัตว์
สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง - พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
สะยัง อะภิญญา สัจ ฉิกัต๎วา ปะเวเทติ - เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โส ธัมมัง เทเสติ อาทิกัล๎ยาณัง - พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น
มุชเฌกัล๎ยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง - ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง - ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสติ - พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
สาธุ โข ปะนะ ตะถา รูปานัง - การไกลเห็นท่านผู้ไกลกิเลส ผู้ทรงคุณเช่นนั้น
อะระหะตัง ทัสสะนัง โหตีติ - เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ
อะถะ โข เกสะปุตติยา กาลามา - ลำดับนั้นแล กาลามชนชาวปุตตนิคม
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิงสุ - พากันไปเฝ้าผู้มีพระภาค
อุปะสังกะมิต๎วา อัปเปกัจเจ ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา - ครั้นเข้าไปแล้วบางพวก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ ภะคะวะตา - แล้วนั่งอันที่สมควร บางพวก
สัทธิ สัมโมทิงสุ สัมโมทะนียัง กะถัง สาราณียัง วีติสาเรต๎วา - ปราศรัยกับผู้มีพระภาค กล่าวถ้อยคำแสดงควมยินดีแล้ว
เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ - นั่ง ณ ที่อันควร บางพวก
เยนะ ภะคะวา เตนัญชะ-ลิมปะณา - ประคองอัญชลี ลงที่ประทับของพระผู้มีพระภาค
เมต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ - มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอันสมควร
นามะโคตรตัง สาเวต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ - ประกาศชื่อและโคตรแล้ว นั่ง ณ ที่อันสมควร
อัปเปกัจเจ ตุณ๎หีภูตา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ - บางพวกนั่งนิ่ง อยู่ ณ ที่อันสมควร
เอกะมันตัง นิสินนา โข เกสะปุตติยา กาลามา - ครั้นแล้วหมู่กาลามชน ชาวเกสปุตตนิคมนั่งในที่อันสมควร
ภะคะวันตัง เอตะทะโวจุง สันติ ภันเต เอเก - แล้วจึงทูลขอผู้มีพระภาคเจ้าว่า
สะมะณะพ๎ราห๎มะณา เกสะปุตตัง อาคัจฉันติ  - พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่งมาถึงเกสปุตตนิคม  
เต สะกังเยวะ วาทัง ทีเปนติ - ชีพราหมณ์พวกนั้น แถลงคารม
โชเตนติ สมญปะระวาทัง ปะนะ - เชิดชูวาทะของตนฝ่ายเดียว และคัดค้าน
ขุงเสนติ วัมเภนติ ปะริภะวันติ กะโรนติ - ดูหมิ่นปรักปรำถ้อยคำของผู้อื่น
โอปะปักขิง  กโรนติ - ทำถ้อยคำผู้อื่นกระเด็นไป
อะปะเรปิ ภันเต เอเก สะมะณะพ๎ราห๎มะณา - พระเจ้าข้า ครั้นสมณพราหมณ์ อีกพวกหนึ่งมา
เกสะปุตตัง อาคัจฉันติ - ถึงเกสปุตตนิคม
เตปิ สะกังเยวะ วาทัง ทีเปนติ โชเตนติ - แม้สมณพราหมณ์พวกหลัง ก็แถลงคารมเชิดชูของตนถ่ายเดียว
ปะระวาทัง ปะนะ ขุงเสนติ วัมเภนติ  ปะริภะวันติ - คัดค้าน ดูหมิ่น ปรักปรำ ถ้อยคำ ของผู้อื่น
โอปะปักขิง กะโรนติ เตสัง โน ภันเต อัมหากัง - ทำถ้อยคำผู้อื่นให้กระเด็นไป พระเจ้าข้า พวกข้าพเจ้า
โหเตวะ กังขา โหติ วิจิกิจฉา - มีความสงสัยว่า
โกสุ นามะ  อิเมสัง ภะวันตานัง - บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้ ใคร่เล่า
สะมะณะพ๎ราห๎มะณานัง สัจจัง อาหะโก มุสาติ - พูดจริง ใครเล่าพูดเท็จ ดังนี้

อะลัง หิ โว กาลามา กังขิตุง อะลัง วิจิกิจฉิตุง - กาลมชน ท่านควรสนเท่ห์ ควรสงสัย
กังขะนิเยวะ ปะนะ โว ฐาเน วิจิกิจฉา อุปปันนา  - ความสงสัยของท่าน เกิดขึ้นแล้วในสิ่งที่ควรสงสัย
เอถะ ตุม๎เห กาลามา กาลามชน

มา  อะนุสสะเวนะ  - ท่านอย่าได้ถือโดยการฟังตามกันมา
มา ปะรัมปะรายะ - อย่าได้ถือโดยเป็นของเก่าสืบเนื่องมา
มา อิติกิรายะ - อย่าได้ถือโดยตื่นข่าวลือ
มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ  - อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา
มา ตักกะเหตุ - อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเอาเดาเอา
มา นะยะเหตุ  - อย่าได้ถือโดยการคาดคะเน
มา อาการะปะริวิตักเกนะ -  อย่าได้ถือโดยการตรึกตามอาการ
มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา -  อย่าได้ถือโดยต้องกับลัทธิความเชื่อของตน
มา ภัพพะรูปะตายะ -  อย่าได้ถือโดยผู้พูดเชื่อถือได้
มา สะมะโณ โน คะรูติ – อย่าได้ถือโดยสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา

ยะทา ตุม๎เห กาลามา อัตตะนาวะ  ชาเนยยาถะ - กาลามชน เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนเองว่า
อิเม ธัมมา อะกุสะลา  - ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
อิเม ธัมมา สาวัชชา - ธรรมเหล่านี้เป็นโทษ
อิเม ธัมมา วิญญุคะระหิตา  - ธรรมเหล่านี้วิญญูชนติเตียน
อิเม ธัมมา สะมัตตา สะมาทินนา  - ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ได้เต็มที่
อะหิตายะ ทุกขายะ สังวัตตันตีติ - ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์
อะถะ ตุม๎เห กาลามา ปะชะเหยยาถะ - กาลามชน ดังนี้ท่านพึงละทิ้งเสีย

ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา - ท่านจะสำคัญสิ่งนั้นเป็นไฉน
โลโภ ปุริสัสสะ อัชฌัตตัง อุปปัชชะมาโน - โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในสันดานของบุคคล
อุปปัชชะติ หิตายะ วา อะหิตายะ วาติ - ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือ เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
อะหิตายะ ภันเต - เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
ลุทโธ ปะนายัง กาลามา ปุริสะปุคคะโล - กาลามาชน ก็บุรุษบุคคลผู้โลภแล้ว
โลเภนะ อะภิภูโต - อันความโลภครอบงำแล้ว ผู้มีจิต
ปะริยาทินนะจิตโต - ความโลภยึดไว้แล้ว

ปาณัมปิ หะนะติ  - ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง
อะทินนัมปิ อาทิยะติ - ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้บ้าง
ปะระทารัมปิ คัจฉะติ - ยุ่งเกี่ยวภรยาของชายอื่นบ้าง
มุสาปิ  ภะณะติ - พูดเท็จบ้าง

ปะรัมปิ ตะถัตตายะ สะมาทะเปติ - สิ่งใดเป็นไปเพื่อความไม่มีประโยชน์
ยังสะ โหติ ทีฆะรัตตัง อะหิตายะ ทุกขายาติ - เพื่อเป็นทุกข์แก่ผู้อื่นสิ้นกาลนาน เขาย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างนั้นบ้าง จริงไหม
เอวัง ภันเต - เป็นอย่างนั้นจริง พระเจ้าข้า

ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา - ท่านจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน
โทโส ปุริสัสสะ อัชฌัตตัง - โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในสันดานของบุคคล
อุปปัชชะมาโน อุปปัชชะติ หิตายะ วา อะหิตายะ วาติ - ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือ ไม่มีประโยชน์
อะหิตายะ ภันเต - เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
ทุฏโฐ ปะนายัง กาลามา - กาลามชน ก็บุรุษบุคคลนี้ อันโทสะ
ปุริสะปุคคะโล โทเสนะ อะภิภูโต - ประทุษร้ายแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว
ปะริยาทินนะจิตโต – ผู้มีจิตอันโทสะยึดไว้แล้ว
 
ปาณัมปิ หะนะติ - ย่อมฆ่าสัตว์
อะทินนัมปิ อาทิยะติ - บ้างถือเอาของที่เขาไม่ให้
ปะระทารัมปิ คัจฉะติ - ยุ่งเกี่ยวภรรยาผู้อื่น
มุสาปิ  ภะณะติ – พูดเท็จ

ปะรัมปิ ตะถัตตายะ สะมาทะเปติ - สิ่งใดไม่เป็นไปเพื่อสิ่งไม่มีประโยชน์
สะยัง โหติ ทีฆะรัตตัง อะหิตายะ ทุกขายาติ - เป็นทุกข์แก่ผู้นั้นสิ้นกาลนาน เขาย่อมชวนผู้อื่นด้วย จริงหรือไม่
เอวัง ภันเต - ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา  - กาลามาชน ท่านสำคัญเป็นไฉน
โมโห ปุริสัสสะ อัชฌัตตัง - โมหะ เมื่อเกิดขึ้นในสันคานของบุคคล
อุปปัชชะมาโน อุปปัชชะติ หิตายะ วา อะหิตายะ วาติ - ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ หรือ ไม่เป็นประโยชน์
อะหิตายะ ภันเต - เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
มูฬ๎โห ปะนายัง กาลามา ปุริสะปุคคะโล - กาลามชน ก็บุคคลที่หลงแล้ว
โมเหนะ อะภิภูโต ปะริยาทินนะจิตโต - อันโมหะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตอันโมหะยึดไว้แล้ว

ปาณัมปิ หะนะติ - ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง
อะทินนัมปิ อาทิยะติ - ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้บ้าง
ปะระทารัมปิ คัจฉะติ - ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาผู้อื่นบ้าง
มุสาปิ ภะณะติ – พูดเท็จบ้าง

ปะรัมปิ ตะถัตตายะ สะมาทะเปติ - สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
สะยัง โหติ ทีฆะรัตตัง อะหิตายะ ทุกขายาติ - เพื่อทุกข์แก่ผู้อื่น เพื่อเป็นอย่างนั้นบ้าง จริงไหม
เอวัง ภันเต - ข้อนี้จริง พระเจ้าข้า

ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา  - กาลามชน ท่านสำคัญข้อความนั้นเป็นไฉน
อิเม ธัมมา กุสะลา วา อะกุสลา - ธรรมเหล่านี้เป็น กุศล หรือ อกุศล
วาติ อะกุสะลา ภันเต - เป็นไปเพื่ออกุศล พระเจ้าข้า
สาวัชชา วา อะนะวัชชา วาติ  - มีโทษ หรือไม่มีโทษ
สาวัชชา ภันเต  - มีโทษ พระเจ้าข้า
วิญญุคะระหิตา วา วิญญุปปะสัตถา วาติ - ท่านผู้รู้ติเตียน หรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
วิญญุคะระหิตา ภันเต - ติเตียน พระเจ้าข้า
สะมัตตา สะมาทินนา อะหิตายะ ทุกขายะ สังวัตตันติ โน วา - ใครสมาทานเต็มที่ย่อมไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ใช่ไหม
กะถัง วา เอตถะ โหตีติ  - หรือท่านมีข้อคิดเห็นอย่างไร
สะมัตตา ภันเต สะมาทินนา - พระเจ้าข้า ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว
อะหิตายะ ทุกขายะ สังวัตตันติ - ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่มีประโยชน์
เอวัง โน เอตถะ โหตีติ - เพื่อเป็นทุกข์ ที่ข้าพระองค์เห็นเป็นอย่างนี้
*อิติ โข กาลามา ยันตัง อะโวจุมหะ - เพราะเหตุนั้นแหละ กาลามาชน เราได้กล่าวคำใดกับท่านบ้างว่า
เอถะ ตุมเห กาลามา – กาลามชน

มา อะนุสสะเวนะ - ท่านอย่าได้ถือเพราะฟังตามกันมา
มา ปะรัมปะรายะ - อย่าได้ถือเพราะเป็นของเก่าสืบเนื่องกันมา
มา อิติกิรายะ -  อย่าได้ถือโดยตื่นข่าว
มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ -  อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา
มา ตักกะเหตุ - อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเอาเดาเอา
มา นะยะเหตุ - อย่าได้ถือโดยการคาดคะเน
มา  อาการะปะริวิตักเกนะ - อย่าได้ถือโดยตรึกตามอาการ
มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา - อย่าได้ถือเพราะตรงกับลัทธิความเชื่อของตน
มา ภัพพะรูปะตายะ - อย่าได้ถือเพราะผู้พูดเชื่อถือได้
มา สะมะโณ โน คะรูติ – อย่าได้ถือเพราะเป็นครูเป็นสมณะของเรา

ยะทา ตุม๎เห กาลามา อัตตะนาวะ  ชาเนยยาถะ - กาลามชน เมื่อไรท่านรู้ด้วยตนเองว่า
อิเม ธัมมา อะกุสะลา อิเม ธัมมา สาวัชชา - ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ
อิเม ธัมมา วิญญุคะระหิตา - ธรรมเหล่านี้ ท่านผู้รู้ติเตียน
อิเม ธัมมา สะมัตตา สะมาทินนา - ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว
อะหิตายะ ทุกขายะ สังวัตตันตีติ - ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์
อะถะ ตุม๎เห กาลามา ปะชะเหยยาถาติ - กาลามชน ท่านพึงละเสียเมื่อนั้น
อิติ ยันตัง วุตตัง อิทะเมตัง ปะฏิจจะ วุตตัง - เพราะเหตุนั้น คำใดที่เรากล่าวกะท่าน เราอาศัยข้อความนี้กล่าวคือ
เอถะ ตุม๎เห กาลามา – กาลามชน

มา อะนุสสะเวนะ - ท่านอย่าถือโดยฟังตามกันมา
มา ปะรัมปะรายะ - อย่าถือโดยเป็นของเก่าสืบเนื่องกันมา
มา อิติกิรายะ - อย่าถือโดยตื่นข่าว
มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ - อย่าถือโดยอ้างตำรา
มา ตักกะเหตุ - อย่าถือโดยเหตุ นึกเอา เดาเอา
มา นะยะเหตุ - อย่าถือโดยใช้การคาดคะเน
มา อาการะปะริวิตักเกนะ - อย่าถือโดยการตรึกตามอาการ
มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา  - อย่าถือโดยตรงกับลัทธิความเชื่อของตน
มา ภัพพะรูปะตายะ - อย่าถือโดยผู้พูดเชื่อถือได้
มา สะมะโณ โน คะรูติ - อย่าถือโดยเป็นครูเป็นสมณะของเรา

ยะทา ตุม๎เห กาลามา อัตตะนาวะ ชาเนยยาถะ - กาลามชนเมื่อไรท่านรู้ด้วยตนเองว่า
อิเม ธัมมา กุสะลา - ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
อิเม ธัมมา อะนะวัชชา - ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นโทษ
อิเม ธัมมา วิญญุปปะสัตถา - ธรรมเหล่านี้ ท่านผู้รู้สรรเสริญ
อิเม ธัมมา สะมัตตา สะมาทินนา - ธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว
หิตายะ สุขายะ สังวัตตันตีติ - ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
อะถะ ตุมเห กาลามา กาลามชน - เมื่อนั้นท่านพึงถึงพร้อม
อุปะสัมปัชชะ วิหะเรยยาถะ - ธรรมเหล่านั้นอยู่
ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา  อะโลโภ ปุริสัสสะ อัชฌัตตัง - กาลามชน ท่านจะสำคัญข้อความนั้นเป็นไฉน
อุปปัชชะมาโน อุปปัชชะติ หิตายะ อะหิตายะ วาติ - ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์
หิตายะ ภันเต - เพื่อเป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
อะลุทโธ ปะนายัง กาลามา ปุริสะปุคคะโล - กาลามชน ก็บุรุษผู้ไม่โลภแล้ว
โลเภนะ อะภิภูโต อะปะริยาทินนะจิตโต - อันความโลภไม่ครอบงำแล้ว มีจิตที่ละจากความโลภแล้ว

เนวะ ปาณัง หะนะติ - ย่อมไม่ฆ่าสัตว์เลย   
นะ อะทินนัง อาทิยะติ - ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
นะ ปะระทารัง คัจฉะติ - ไม่ถึงภรรยาของชายอื่น
นะ มุสา ภะณะติ -ไม่พูดเท็จ

ปะรัมปิ ตะถัตตายะ สะมาทะเปติ - สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ยังสะ โหติ ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายาติ - แก่ผู้นั้นสิ้นกาลนานนั้น เขาย่อมชักชวนให้ผู้อื่น เป็นอย่างนั้น จริงไหม
เอวัง ภันเต - ข้อนี้จริง พระเจ้าข้า

ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา - กาลามชน ท่านจะพึงเห็นข้อความนั้นสำคัญเป็นไฉน
อะโทโส ปุริสัสสะ อัชฌัตตัง อุปปัชชะมาโน - ความไม่ประทุษร้ายเกิดขึ้นในสันดานของบุรุษ
อุปปัชชะติ หิตายะ วา อะหิตายะ วาติ - ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์
หิตายะ ภันเต - เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
อะทุฏโฐ  ปะนายัง กาลามา ปุริสะปุคคะโล - กาลามชน ก็บุรุษผู้ปราศจากโทสะอันนี้แล้ว
โทเสนะ อะนะภิภูโต - อันโทสะไม่ครอบงำดังนี้แล้ว
อะปะริยาทินนะจิตโต อัยจิต – ไม่ครอบงำด้วยโทสะอย่างนี้แล้ว

เนวะ ปาณัง หะนะติ - ย่อมไม่ฆ่าสัตว์เลย
นะ อะทินนัง อาทิยะติ - ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
นะ ปะระทารัง คัจฉะติ - ไม่ถึงภรรยาผู้อื่น
นะ มุสา ภะณะติ – ไม่พูดเท็จ

ปะรัมปิ ตะถัตตายะ สะมาทะเปติ - สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ยังสะ โหติ ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายาติ - ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนั้น เขาย่อมชักชวนผู้อื่น เพื่อเป็นอย่างนั้นบ้างจริงไหม
เอวัง ภันเต - เป็นจริง พระเจ้าข้า
ตัง กิง มัญญะถะ กาลามา - กาลามชน ท่านพึงเห็นความสำคัญนั้นเป็นไฉน
อะโมโห ปุริสัสสะ  อัชฌัตตัง - ความไม่หลงเมื่อเกิดขึ้นในสันดาน
อุปปัชชะมาโน อุปปัชชะติ - ของบุรุษ ย่อมเกิดประโยชน์
หิตายะ วา อะหิตายะ วาติ - หรือไม่เกิดประโยชน์
หิตายะ ภันเต - เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
อะมูฬ๎โห ปะนายัง กาลามา ปุริสะปุคคโล - กาลามชน ก็บุรุษผู้ไม่หลงนี้แล้ว
โมเหนะ อะนะภิภูโต อะปะริยาทินนะจิตโต - อันความหลงไม่ครอบงำแล้ว อันจิตไม่มีความหลงยึดแล้ว

เนวะ ปาณัง หะนะติ - ไม่ฆ่าสัตว์เลย
นะ อะทินนัง อาทิยะติ - ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้
นะ ปะระทารัง คัจฉะติ - ไม่ถึงภรรยาชายอื่น
นะ มุสา ภะณะติ – ไม่พุดเท็จ

ปะรัมปิ ตะถัตตายะ สะมาทะเปติ - สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ยังสะ โหติ ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายาติ - ผู้อื่นนั้นสิ้นกาลนั้น เขาย่อมชักชวนเป็นอย่างนั้นบ้าง จริงไหม
เอวัง ภันเต - เป็นจริง พระเจ้าข้า
ตัง กิง มัญญะถะ - กาลามา กาลามชน ท่านจะสำคัญข้อความนั้นเป็นไฉน
อิเม ธัมมา กุสะลา วา อะกุสะลา วาติ - ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรืออกุศล
กุสะลา ภันเต - เป็นกุศล พระเจ้าข้า
สาวัชชา วา อะนะวัชชา วาติ - มีโทษหรือไม่มีโทษ
อะนะวัชชา ภันเต - ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า
วิญญุคะระหิตา วา วิญญุปปะสัตถา วาติ - ท่านผู้รู้ติเตียน หรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
วิญญุปปะสัตถา ภันเต - ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า
สะมัตตา สะมาทินนา หิตายะ - ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว
สุขายะ สังวัตตันติ โน วา - ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขหรือไม่
กะถัง วา เอตถะ โหตีติ - หรือท่านเห็นเป็นอย่างไรในข้อนี้
สะมัตตา ภันเต  สะมาทินนา หิตายะ สุขายะ สังวัตตันติ - พระเจ้าข้า ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขในข้อนี้
เอวัง โน เอตถะ โหตีติ - ข้าพระองค์ก็มีความเห็นเป็นเช่นนี้
อิติ โข กาลามา ยันตัง อะโวจุมหะ - เพราะเหตุนั้นแล กาลามชน เราถึงได้กล่าวคำใดกับท่าน
เอถะ ตุม๎เห กาลามา - กาลามชน

มา อะนุสสะเวนะ - ท่านอย่าได้พึงถือตามกันมา
มา ปะรัมปะรายะ - อย่าได้พึงถือเป็นของเก่าสืบเนื่องกันมา
มา อิติกิรายะ - อย่าได้พึงถือเป็นข่าวลือ
มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ - อย่าได้พึงถือว่าเป็นตำรา
มา ตักกะเหตุ - อย่าได้พึงถือด้วยการนึกเอาเดาเอา
มา นะยะเหตุ - อย่าได้พึงถือด้วยการคาดคะเน
มา อาการะปะริวิตักเกนะ - อย่าได้พึงถือโดยการตรึกตามอาการ
มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา - อย่าได้พึงถือเพราะถูกกับลัทธิ ความเชื่อของตน
มา ภัพพะรูปะตายะ - อย่าได้ถือเพราะผู้พูดเชื่อถือได้
มา สะมะโณ โน คะรูติ – อย่าได้ถือเพราะเป็นครูเป็นสมณะของเรา

ยะทา ตุม๎เห กาลามา อัตตะนาวะ ชาเนยยาถะ - กาลามชน เมื่อท่านรู้ด้วยตนเองว่า
อิเม ธัมมา กุสะลา อิเม ธัมมา อะนะวัชชา - ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นโทษ
อิเม ธัมมา วิญญุปปะสัตถา - ธรรมเหล่านี้ ท่านผู้รู้สรรเสริญ
อิเม ธัมมา สะมัตตา สะมาทินนา - ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว
หิตายะ สุขายะ สังวัตตันตีติ - ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อสุข
อะถะ ตุม๎เห กาลามา อุปะสัมปัชชะ วิหะเรยยาถาติ - กาลามชน เมื่อนั้นท่านถึงพร้อมธรรมเหล่านั้นอยู่
อิติ ยันตัง วุตตัง - เพราะเหตุนั้น ธรรมใดที่เรากล่าวถึงท่าน
อิทะเมตัง  ปะฏิจจะ วุตตัง สะ โข โส กาลามา อะริยะสาวะโก - ธรรมนั้นเราอาศัยข้อความกล่าวแล้ว กาลามชน อรยสาวกนั้นแล

เอวัง วิคะตาภิชโฌ - ผู้ปราศจากความละโมบ
วิคะตัพพ๎ยาปาโท อะสัมมูฬ๎โห - ปราศจากพยาบาท เป็นผู้ไม่หลงอย่างนี้
สัมปะชาโน ปะติสสะโต - มีสติมั่นคงรู้ตัวอยู่
เมตตาสะหะคะเตนะ เจตะสา - มีใจประกอบด้วยเมตตา
เอกัง ทิสัง ผะริตะวา วิหะระติ - แผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่
ตะถา ทุติยัง ตะถา ตะติยัง ตะถา จะตุตถัง - ทิศที่ 2, 3, และ 4 ก็อย่างนั้น
อิติ อุทธะมะโย ติริยัง สัพพะธิ - มีใจประกอบด้วยด้วยเมตตา ไพบูรณ์เต็มที่
สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตัง – เป็นกิจใหญ่ ที่มีสัตว์ประมาณมิได้เป็นอารมณ์ (สงสารสัตว์โลก)
โลกัง เมตตา-สะหะคะเตนะ เจตะสา - ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนแผ่ไปในที่ทั้งปวง

วิปุเลนะ มะหัคคะเตนะ อัปปะมาเณนะ  - ที่ทั้งปวง ในทิศเบื้องต้นและเบื้องต่ำ
อะเวเรนะ อัพ๎ยาปัชเฌนะ ผะริตะวา วิหะระติ - ทิศเบื้องขวางตลอดโลก อันมีสรรพสัตว์
กะรุณาสะหะ-คะเตนะ เจตะสา - มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศ
เอกัง ทิสัง ผะริตะวา วิหะระติ - ที่ 1  อยู่
ตะถา ทุติยัง ตะถา ตะติยัง ตะถา จะตุตถัง - ทิศที่ 2, 3, 4 ก็อย่างนั้น
อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ - มีใจประกอบด้วยกรุณาเต็มที่
สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตัง - เป็นกิจใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์
โลกัง กะรุณาสะหะคะเตนะ เจตะสา - ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไป
วิปุเลนะ มะหัคคะเตนะ - ในที่ทั้งปวง ทั้งในทิศเบื้องบน
อัปปะมาเณนะ อะเวเรนะ - เบื้อต่ำ เบื้องขวาง ตลอดโลกอันมี
อัพ๎ยา-ปัชเฌนะ ผะริตะวา วิหะระติ - สรรพสัตว์ด้วยความมีน้ำใจทั้งปวงดังนี้อยู่
มุทิตาสะหะคะเตนะ เจตะสา เอกัง - มีใจประกอบด้วยมุทิตาตลอดทิศ
ทิสัง ผะริตะวา วิหะระติ - ที่หนึ่งอยู่
ตะถา ทุติยัง ตะถา ตะติยัง ตะถา - ทิศที่ 2, 3, 4, ก็อย่างนั้น
จะตุตถัง อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ - มีใจประกอบด้วยมุทิตาไพบูรณ์เต็มที่ เป็นกิจใหญ่
สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตัง - มีสัตว์ประมาณมิได้เป็นอารมณ์
โลกัง มุทิตาสะหะคะเตนะ - ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไปในที่ทั้งปวง
เจตะสา วิปุเลนะ มะหัคคะเตนะ - ทั้งในทิศเบื้องบน เบื่องต่ำ
อัปปะมาเณนะ อะเวเรนะ - ทิศเบื้องขวางตลอดโลก อันมีสรรพสัตว์
อัพ๎ยาปัชเฌนะ ผะริตะวา วิหะระติ - ด้วยความเป็นผู้มีใจในสัตว์ทั้งปวงดังนี้อยู่
อุเปกขาสะหะคะเตนะ เจตะสา - มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปโดยตลอด
เอกัง ทิสัง ผะริตะวา วิหะระติ -  ทิศที่ ๑ อยู่
ตะถา ทุติยัง ตะถา ตะติยัง ตะถา จะตุตถัง - ทิศที่ 2, 3, 4, ก็อย่างนั้น
อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ - มีใจประกอบด้วย อุเบกขา ไพบูรณ์เต็มที่
สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตัง - เป็นกิจใหญ่ มีสัตว์ประมาณมิได้เป็นอารมณ์
โลกัง อุเปกขาสะหะคะเตนะ - ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไป
เจตะสา วิปุเลนะ มะหัคคะเตนะ – ในที่ทั้งปวงทั้งในทิศเบื้องบน
อัปปะมาเณนะ อะเวเรนะ  -    ทิศเบื้อต่ำ ทิศเบื้องขวาง ตลอดโลกอันมี
อัพ๎ยาปัชเฌนะ ผะริตะวา วิหะระติ - สรรพสัตว์ ด้วยความเป็นผู้มีใจในสัตว์ทั้งปวงดังนี้อยู่

สะ โข โส กาลามา อะริยะสาวะโก - กาลามชน อริยสาวกนั้นแล
เอวัง อะเวระจิตโต – มีจิตหาเวรมิได้ ดังนี้
เอวัง อัพ๎ยาปัชฌะจิตโต – หาความเบียดเบียนมิได้ ดังนี้
เอวัง อะสังกิลิฏฐะจิตโต – มีจิตใจไม่เศร้าหมอง ดังนี้
เอวัง วิสุทธะจิตโต – มีจิตหมดจดแล้ว อย่างนี้
ตัสสะ ทิฏเฐ ธัมเม จัตตาโร - ท่านจะเป็นผู้ได้รับความอุ่นใจ 4 ประการ

อัสสาสา อะธิคะตา โหนติ - การอยู่ในทิฏฐธรรม
สะเจ โข ปะนะ อัตถิ ปะโร โลโก - ก็แลถ้าโลกหน้ามีอยู่ไซร์
อัตถิ สุกะตะทุกกะฏานัง - วิบากคือผลของการทำดีและทำชั่วก็มีอยู่
กัมมานัง ผะละวิปาโก ฐานะเมตัง - ข้อนี้เป็นฐานะ ที่พึงมีอยู่
เยนาหัง กายัสสะเภทา - เบื้องหน้า ถ้ากายแตกทลายไป

ปะรัมมะระณา สุคะติง สัคคัง - เราจักเข้าสู่สุขติโลกสวรรค์ดังนี้
โลกัง อุปะปัชชิสสามีติ - (ความหวังของผู้ไม่มีกรรมชั่ว)
อะยะมัสสะ ปะฐะโม อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่คือความอุ่นใจที่จะได้รับข้อ 1
สะเจ โข ปะนะ นัตถิ ปะโร โลโก - ก็แลถ้าโลกหน้าไม่มี
นัตถิ สุกะตะทุกกะฏานัง กัมมานัง ผะละวิปาโถ - วิบากคือผลของกรรมดีกรรมชั่วก็ไม่มี
อิธาหัง ทิฏเฐวะ ธัมเม อะเวรัง อัพ๎ยาปัชฌัง อะนีฆัง สุขี - ในทิฐธรรมนี้ เราจักรักษาตนให้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน
อัตตานัง ปะริหะรามีติ อะยะมัสสะ ทุติโย อัสสาโส - ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุข ดังนี้เพื่อเป็นข้ออุ่นใจข้อที่ 2
อะธิคะโต โหติ สะเจ โข ปะนะ กะโรโต - ที่อริยสาวกนั้นได้รับ ก็แลที่บาปที่บุคคลกระทำ

กะรียะติ ปาปัง นะ โข ปะนาหัง กัสสะจิ ปาปัง เจเตมิ - อันการกระทำนั้นไซร์ ถือเป็นบาป 
อะกะโรนตัง โข ปะนะ มัง ปาปะกัมมัง กุโต ทุกขัง ผุสิสสะตีติ - ไฉนเลยความทุกข์จะมาแผ้วพานเรา
อะยะมัสสะ ตะติโย อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่เป็นความอุ่นใจข้อที่ 3 อริยสาวกจะได้รับ
สะเจ โข ปะนะ กะโรโต นะ กะรียะติ ปาปัง – แล้ว ถ้าบาป ที่ถือว่าบุคคลไม่กระทำนั้นไซร์
อิธาหัง อุภะเยเนวะ วิสุทธัง  - บัดนี้ เราเห็นตนเป็นคนที่บริสุทธิ์แล้ว
อัตตานัง สะมะนุปัสสามีติ - บริสุทธิ์แล้วทั้งสองทางดังนี้
อะยะมัสสะ จะตุตโถ อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่เป็นความอุ่นใจข้อที่ 4 อริยสาวกนั้นได้รับ
สะ โข โส กาลามา อะริยะสาวะโก – กาลามชนอริยสาวกนั้นแล

เอวัง อะเวระจิตโต – มีจิตหาเวรมิได้ ดังนี้
เอวัง อัพ๎ยาปัชฌะจิตโต – มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ ดังนี้
เอวัง อะสังกิลิฏฐะ จิตโต – มีจิตไม่เศร้าหมอง ดังนี้
เอวัง วิสุทธะจิตโต – มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ดังนี้
ตัสสะ ทิฏเฐวะ ธัมเม อิเม จัตตาโร อัสสาสา อะธิคะตา โหนตีติ - ในขณะนี้ท่านได้ความอุ่นใจ 4 ประการ
เอวะเมตัง ภะคะวา เอวะเมตัง สุคะตะ - ข้อแต่ผู้มีพระภาค ข้อความนี้จริง ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อความนี้จริงอย่างนั้น
สะ โข โส ภันเต อะริยะสาวะโก - ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกนั้นๆ แลมีจิตกาเวรมิได้อย่างนี้

เอวัง อะเวระจิตโต - นั้นแล มีจิตหาเวรมิได้ อย่างนี้
เอวัง อัพ๎ยา-ปัชฌะจิตโต – มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้
เอวัง อะสังกิลิฏฐะจิตโต – มีจิตไม่เศร้าหมอง อย่างนี้
เอวัง วิสุทธะจิตโต – มีจิตบริสุทธิ์ อย่างนี้
ตัสสะ   ทิฏเฐวะ ธัมเม จัตตาโร อัสสาสา อะธิคะตา โหนติ - ในปัจจุบันนี้ ท่านได้รับความอุ่นใจ 4 ประการ
สะเจ โข ปะนะ อัตถิ ปะโร โลโก - ก็แลว่าถ้าโลกหน้ามีอยู่
อัตถิ สุกะตะทุกกะฏานัง กัมมานัง ผะละวิปาโก ฐานะเมตัง - วิบากคือผลของกรรม ที่สัตว์ทำดีทำชั่วที่มีอยู่ในฐานะที่เป็นได้

เยนาหัง กายัสสะ เภทา - เบื้องหน้ากายแตกทลายไป
ปะรัมมะระณา สุคะติง สัคคัง  โลกัง อุปะปัชชิสสามีติ - เราจะเข้าสู่สุขติโลกสวรรค์
อะยะมัสสะ ปะฐะโม อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่เป็นความอุ่นใจข้อที่ 1 ทีพระอริยสาวกนั้นจะได้รับ
สะเจ โข ปะนะ นัตถิ ปะโร โลโก - ก็แล ถ้าโลกหน้าไม่มีอยู่ไซร์
นัตถิ สุกะตะทุกกะฏานัง กัมมานัง ผะละวิปาโก - วิบากคือผลทำดี ทำชั่ว ก็ไม่มี

อิธาหัง ทิฏเฐวะ ธัมเม อะเวรัง อัพ๎ยาปัชฌัง อะนีฆัง สุขี - ในปัจจุบันนี้เอง เราจักรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อัตตานัง ปะริหะรามีติ - ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุข
อะยะมัสสะ ทุติโย อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่จัดเป็นความอุ่นใจข้อที่ 2 ที่พระอริยสาวกได้รับ

สะเจ โข ปะนะ กะโรโต กะรียะติ ปาปัง - ก็แล บาปที่คนกระทำ ถือเป็นบาปนั้นไซร์
นะ โข ปะนาหัง กัสสะจิ ปาปัง เจเตมิ - เราก็มิได้คิดบาปให้แก่ใคร
อะกะโรนตัง โข ปะนะมัง - ไฉนเลยความทุกข์จักมาแผ้วพานเรา
ปาปะกัมมัง กุโต ทุกขัง ผุสิสสะตีติ - ผู้ซึ่งไม่ได้กระทำบาปไว้ดังนี้
อะยะมัสสะ ตะติโย อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่เป็นความอุ่นใจข้อ 3 ของพระอริยสงฆ์

สะเจ โข ปะนะ กะโรโต นะ กะรียะติ ปาปัง - ก็แล เมื่อบาปที่บุคคลกระทำ ไม่ถือเป็นบาปนั้นไซร์
อิธาหัง อุภะเยเนวะ วิสุทธัง อัตตานัง สะมะนุปัสสามีติ - เราจึงถือว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งสองทาง
อะยะมัสสะ จะตุตโถ อัสสาโส อะธิคะโต โหติ - นี่จัดเป็นความอุ่นใจข้อที่ 4 ที่พระอริยสงฆ์จะได้รับ

สะ โข โส ภันเต อะริยะสาวะโก เอวัง อะเวระจิตโต - ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสงฆ์นั้นๆมีจิตกาเวรมิได้อย่างนี้
เอวัง อัพ๎ยาปัชฌะจิตโต – มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้
เอวัง อะสัง-กิลิฏฐะจิตโต – มีจิตไม่เศร้าหมอง อย่างนี้
เอวัง วิสุทธะจิตโต – มีจิตบริสุทธิ์แล้ว อย่างนี้
ตัสสะ ทิฏเฐวะ ธัมเม อิเม - ในปัจจุบันนี้เอง
จัตตาโร อัสสาสา อะธิคะตา โหนติ -  ท่านย่อมได้รับความอุ่นใจใน 4 ประการ

อะภิกกันตัง ภันเต - พระราชดำรัสของพระองค์ไพเราะยิ่งนักพระเจ้าข้า
อะภิกกันตัง ภันเต - พระราชดำรัสของพระองค์ไพเราะยิ่งนักพระเจ้าข้า

จบกาลามสูตร
ขอบคุณต้นฉบับภาษาบาลีคัดลอกมาจากเวปป่าวัดมะไฟ ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 
ขอบคุณคุณ Wannee ที่แนะให้นำกาลามสูตรมาลงทั้งหมด
คำแปลจากบาลี ถ้าไม่ถูกต้อง โปรดแนะนำ ต้นฉบับจากคำแปลสวดมนต์

โปรดสังเกต

สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จะมีความไพเราะ เป็นขั้นเป็นตอน สามารถไต่ถามข้อสงสัยได้ พิสูจน์ความเป็นจริงได้ นี่คือสิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรทำความเข้าใจให้ตระหนัก

ถ้าพุทธศาสนิกชนประพฤติปฏิบัติตาม กาลามสูตร มงคลสูตร และสิคาลกสูตร ให้พร้อมแล้ว ย่อมเป็นการพิสูจน์ความจริงได้ว่า ผู้คนจะเป็นคนดี มีศีลธรรม ผู้มีปัญญาธรรมคงเห็นได้ชัดเจนแล้ว

ความจริงคือสิ่งที่ปรากฏ คนทั่วโลกรับรู้ได้ ใช่ไหม และความจริงย่อมพิสูจน์ตามหลักฐานได้

ครูอินทราเป็นเพื่อนแท้ของมนุษย์ทุกคน

สิ่งที่ครูอินทรา ต้องกระทำ

1. ต้องการให้ทุกคนไม่เลือกเขาหรือเราได้มีโอกาสพิสูจน์ความจริง เพื่อประโยชน์แก่คนทั้งหลาย
2. เพื่อกำจัดสิ่งที่มารมาสอนหลอกมนุษย์ให้หลงผิด และแก้ไขให้ถูกต้อง
3. เพื่อทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองไปจนครบพุทธกาล
4. เพื่อช่วยมนุษย์สร้างสันติสุขที่แท้จริงขึ้นบนโลก

สิ่งสำคัญที่คุณอินทรา ทำได้โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ มีตัวอย่างเช่น

1. แจงศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่สอนโดยบุตรพยามาร
2. ศีล 5 พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอน

ลิงค์ - ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่สอนโดยบุตรพยามาร (English)
ลิงค์ - พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอนศีล 5

แต่งานของครูอินทราไม่ก้าวหน้าเพราะขาดความร่วมมือจากผู้คนทั่วไป ดังนั้นการล้างโลกอธรรมย่อมต้องเกิดขึ้นเพื่อล้างคนที่ไม่ดีพอให้ตายไปจากโลกนี้ เหลือคนดีจริงๆ อยู่รอดเข้าสู่ยุคทองต่อไป

ตามลิงค์ - พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสศีล 5 มีหลักฐานพยากรณ์ต่างเป็นจริงมาโดยตลอด ฉะนั้นการล้างโลกควรจักเป็นจริงด้วย ถ้าผู้คนยังเพิกเฉยการหาความจริงของครูอินทรา

ลิงค์ - พยาการณ์ล้างโลกอธรรม

2 พ.ค. 2554 
กลับไปหน้าแรกของ metteya.org